เครื่องทำน้ำร้อนน้ำเย็น
Heat Pump Water Heater & Chiller Water Unit |
ระบบ Heat Pump Water Heater & Chiller Water Unit (Heat & Cool) ระบบปั้มความร้อน เครื่องทำน้ำร้อนและน้ำเย็น คือ |
การทำงานของ Heat & Cool สารทำความเย็นจะถูกคอมเพรสเซอร์ (Compressor) ดูดเข้าไปและอัดด้วยแรงดันสูงก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ขณะที่สารทำความเย็น (Refrigerant)ยังเป็นแก๊สมีแรงดันสูงและอุณหภูมิสูงนั้น เมื่อสารทำความเย็น (Refrigerant)ถูกอัดไปถึงคอนเดนเซอร์ (Condenser) ซึ่งในที่นี้เป็นท่อทองแดงอยู่ในน้ำจะคายความร้อนออกให้แก่น้ำ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดเป็นน้ำร้อน และเมื่อสารทำความเย็นคายความร้อนแล้วจะมีอุณหภูมิลดลงถึงจุดที่กลายเป็นของเหลว แต่ยังมีแรงดันสูงอยู่เมื่อสารทำความเย็นเหลว ไหลผ่านวาล์วลดแรงดันหรือท่อลดแรงดันจะกลายเป็นไอน้ำยา (Vapor) อุณหภูมิต่ำและแรงดันต่ำ เมื่อไปถึงอีแวปพอเรเตอร์ (Evaporator) ซึ่งในที่นี้เป็นท่อทองแดงอยู่ในน้ำ จะแลกเปลี่ยนความร้อนกับน้ำ ทำให้น้ำมีอุณหภูมิลดลง เกิดเป็นน้ำเย็น และเมื่อสารทำความเย็นได้รับความร้อนจากน้ำก็จะกลับกลายเป็นแก๊สอีก และไหลต่อไปยังคอมเพรสเซอร์ การทำงานของ Heat & Cool ก็จะทำงานวนเวียนเป็นวงจรอยู่ในระบบเช่นนี้ซึ่งจะได้ทั้งน้ำร้อนและน้ำเย็นตามที่ต้องการ
Heat & Cool สามารถผลิตน้ำร้อนและน้ำเย็นได้พร้อมๆกัน สามารถควบคุมอุณหภูมิของน้ำร้อนและน้ำเย็นอย่าง เป็นอิสระแยกจากกัน อย่างเช่น ในฤดูหนาวใช้น้ำเย็นน้อย ยังสามารถผลิตน้ำร้อนได้โดยไม่ต้องใช้ Heater ช่วยทำน้ำร้อน หรือต้องการผลิตน้ำร้อนหรือน้ำเย็นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ตามความต้องการ ใช้ R-22 หรือ R-134a เป็นสารทำความเย็น เครื่องสามารถผลิตน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 55-60 องศา C ( R-22) , 60-65 องศา C ( R-134a) น้ำเย็นที่อุณหภูมิ 7.2 องศา C
|
|
 |
รูปภาพการทำงานระบบ Heat & Cool Water Unit
|
Heat Pump Water Heater ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายได้เพียงใด
การทำน้ำร้อนโดยใช้หม้อต้มน้ำด้วยเชื้อเพลิงต่างๆดังการคำนวณต่อไปนี้แสดงว่าการใช้ Heat Pump ทำน้ำร้อนอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศา ซ. จะเปลืองพลังงานน้อยกว่าการใช้เชื้อเพลิงอื่นๆ แม้แต่เครื่องทำน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์ที่ต้องมีขดลวดไฟฟ้าเสริม ก็ยังสิ้นเปลืองกว่า Heat Pump ท่านที่สนใจอาจเลือกใส่ข้อมูลของท่านลงไปในช่อง ? และอ่านผลที่ได้ในช่องอื่น ขั้นตอนการคำนวณแสดงไว้ข้างล่าง
|
ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงต่างๆเทียบกับ Heat Pump
จำนวนห้องพัก |
300 |
ห้อง ? |
อัตราใช้น้ำ ต่อห้อง ต่อวัน |
200 |
ลิตร / ห้อง / วัน? |
Daily requirement |
60,000 |
ลิตร / วัน |
อุณหภูมิอากาศ (ambient) |
30 |
องศา ซ? |
อุณหภูมิน้ำร้อนที่ต้องการ |
60 |
องศา ซ? |
Temp rise |
30 |
องศา ซ? |
Kcal required |
1,800,000 |
Kcal |
|
 |
ประสิทธิภาพหมายถึง การเปลี่ยนแปลงพลังงานในเชื้อเพลิงเป็นความร้อนที่น้ำได้รับ
COPh = Coefficient of Performance ของ Heat Pump ที่ให้พลังงานออกมาเป็นกี่เท่าของพลังงานที่ใช้ พลังงานที่เพิ่มขึ้นได้จากพลังงานในอากาศ Heat Pump จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้นำพลังงานทดแทนมาใช้ได้ดีที่สุด เพราะพลังงานจากอากาศมีมาก ไม่มีหมด และไม่ต้องซื้อ |
ลักษณะการคำนวณ |
|
ความต้องการน้ำร้อน ลิตร/วัน |
= จำนวนห้อง x อัตราการใช้น้ำ ลิตรต่อห้องต่อวัน |
|
= 300 x 200 = 60000 ลิตร/วัน |
พลังงานที่ต้องการ kcal/วัน |
= ลิตร/วัน x อุณหภูมิเพิ่ม |
|
= 60000 x 30 = 1800000 kcal |
ใช้น้ำมันเตา ค่าความร้อน = 9500 kcal/ลิตร ประสิทธิภาพการเผาไหม้ = 80% |
ปริมาณน้ำมันเตาที่ต้องการ ลิตร |
= พลังงานที่ต้องการค่าความร้อนประสิทธิภาพการเผาไหม้ |
|
= 1800000/9500/0.8 = 236.8 ลิตรต่อวัน |
เป็นพลังงานที่น้ำได้รับ |
= น้ำมันเตาที่ใช้ x ค่าความร้อน |
|
= 236.8 x 9500 = 2250000 kcal |
Heat Pump ใช้พลังงาน 1/4 ของพลังงานที่ต้องการ หรือ Heat Pump ให้พลังงานเป็น 4 เท่าของพลังงานที่ใช้ |
ปั้มความร้อนใช้พลังงาน |
= 1800000/4 = 450000 kcal |
ใช้ปั้มความร้อนประหยัดพลังงานได้ |
= 2250000-450000 = 1800000 kcal |
ประหยัดพลังงานได้ |
= 80% |
คิดเป็นพลังงานไฟฟ้า |
= 450000/860 = 523.25 kWh |
ราคาน้ำมันเตาลิตรละ |
= 12 บาท |
ค่าน้ำมันเตา |
= 236.8 x 12 = 2842.6 บาท |
อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ย 2.9 บาท/kWh |
|
ค่าไฟฟ้า |
= 2.9 x 523.25 = 1517.425 บาท |
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ |
= 2842.6-1517.425 = 1325.175 |
ประหยัดได้ |
= 1325.175/28 = 47% |
|
การคำนวณผลประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการใช้เชื้อเพลิงต่าง ๆ เทียบกับปั๊มความร้อน
ข้อมูลที่ต้องใส่เพื่อการคำนวณ |

** หมายเหตุ น้ำ 1kg (หรือ 1 ลิตร ทำให้ร้อนขึ้น 1'C ต้องใช้ความร้อน 1 kcal (กิโลแคลอรี)) |
สรูปผลประหยัดจำนวนเงินและ % เมื่อใช้ Heat Pump Water Heater Unit เปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอิ่น ๆ |
ประเภท |
300 ห้อง / บาท / ปี |
เทียบกับ Heat Pump กับจำนวนเงินที่ประหยัดได้ปีละ |
% ประหยัด |
Heat Pump |
553,705 |
|
|
หม้อต้มน้ำด้วย Fuel oil |
1.037,330 |
483,625 บาท |
46.62 % |
หม้อต้มน้ำด้วย Diesel oil |
1,865,880 |
1,312,175 บาท |
70.32 % |
หม้อต้มน้ำด้วย LPG |
912,500 |
358,795 บาท |
39.32 % |
หม้อต้มน้ำด้วย Electric |
2,215,550 |
1,661,845 บาท |
75 % |
หม้อต้มน้ำด้วย Solar ternal |
1,107,775 |
554,070 บาท |
50 % |
|
|
|
|